โรคสำคัญของหอม กระเทียม : โรคเน่าเละ
หัวส่วนใต้ดินมีอาการเน่านิ่มเมื่อผ่าออกพบว่าเนื้อเยื้อตรงกลางหัวเน่าช้ำมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวรุนแรงทำให้ส่วนต้นมีอาการเหี่ยวและยุบตายไปในที่สุดพบระบาดรุนแรงในช่วงฝนตกชุก และควรพ่นสารป้องกันก่อนเห็นอาการของโรค
หัวส่วนใต้ดินมีอาการเน่านิ่มเมื่อผ่าออกพบว่าเนื้อเยื้อตรงกลางหัวเน่าช้ำมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวรุนแรงทำให้ส่วนต้นมีอาการเหี่ยวและยุบตายไปในที่สุดพบระบาดรุนแรงในช่วงฝนตกชุก และควรพ่นสารป้องกันก่อนเห็นอาการของโรค
พบแผลจุดฉ่ำน้ำหัวแหลมท้ายแหลมขยายขนาดไปตามความยาวของใบเนื้อเยื้อตรงกลางแผลบางโปร่งใสบางครั้งพบแผลแตกเป็นทาง
ยาวตามแนวเส้นใบ หากระบาดรุนแรงจะทำให้เหี่ยวแห้งตายเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาว ทำให้ถูกเรียกว่า โรคใบขาว เกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตพบะบาดรุนแรงในบริเวณที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะช่วงฝนตกชุก และมีการระบาดได้รวดเร็วมากและควรพ่นสารป้องกันก่อนเห็นอาการของโรค
แผลที่เกิดจากการขยายตัวของโรคจะเป็นวงไม่ชัดเจน คือมักจะแสดงอาการใบจุดเล็กๆสีน้ำตาลเข็มกระจายอยู่ทั่วไปรอบๆแผจะมีสีเหลืองล้อมรอบในใบที่แสดงอาการรุนแรง แผลจะลามติดต่อกันเกิดการไหม้ทั้งใบและใบแห้งดำ ส่วนบนผลจะพบเป็นจุดเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไปแผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มบุ๋มลึกลงไป พบระบาดมากในบริเวณที่มีวามชื้นสูงโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนตกชุก
เชื้อราไฟท๊อปเทอร่าจะเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วน เช่น ใบ กิ่ง ลำต้น และผล พบเป็นจุดฉ่ำน้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก จากนั้นอาจจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ ทำให้ใบแห้ง กิ่งแห้งและตายไปในที่สุดพบการระบาดรุนแรงในบริเวณที่มีความชื้นสูงโดยเฉพาะช่วงฝนตกชุกและอากาศค่อนข้างเย็น ตรวจดูการระบาดหากพบเกิน10%ของพื้นที่ให้พ่นสารป้องกันกำจัด ทันที